วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Moore's Law

กฎของมัวร์ หรือ Moore’s Law  

    คือ   กฏที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาว มีความว่า จํานวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ในทุกๆสองปี
 Gordon E. Moore ผู้ก่อตั้ Intel  ซึ้งได้อธิบายแนวโน้มไว้ในรายงานของเขาในปี 1965 จึงพบว่ากฎนี้แม่นยํา อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรม    semiconductor  นํากฎนี้ไปเป็นเป้าหมายในการวางแผน พัฒนาอุตสาหกรรมได้     moore's law เป็น ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวมจำนวนของทรานซิสเตอร์ ต่อตารางนิ้วบน แผงวงจรรวม มีสองเท่าทุกปีตั้งแต่วงจรรวมถูกคิดค้น Moore predicted that this trend would continue for the foreseeable future. มัวร์ที่คาดการณ์ว่าแนวโน้มจะดำเนินต่อไปในอนาคตอันใกล้ ในปีถัดไป, การก้าวชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่ความหนาแน่นของข้อมูลได้เท่าประมาณทุก 18 เดือน

        กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม
       


                กฎของมัวร์ (Moore's Law)
         ในปี พ.ศ. 2490 วิลเลียมชอคเลย์และกลุ่มเพื่อนนักวิจัยที่สถาบัน เบลแล็ป ได้คิดค้นสิ่งที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชาวโลกมาก เป็นการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิคส์ที่เรียกว่า โซลิดสเตทเขาได้ตั้งชื่อสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมาว่า "ทรานซิสเตอร์" แนวคิดในขณะนั้นต้องการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้า ซึ่งสามารถทำได้ดีด้วยหลอดสูญญากาศแต่หลอดมี ขนาดใหญ่เทอะทะใช้กำลังงานไฟฟ้ามากทรานซิสเตอร์จึงเป็นอุปกรณ์ที่นำมาแทนหลอดสูญญากาศได้เป็นอย่างดีทำให้เกิดอุตสาหกรรมสาร กึ่งตัวนำตามมา และก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ


พ.ศ. 2508 อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์สารกึ่งตัวได้แพร่หลาย มีบริษัทผู้ผลิตทรานซิสเตอร์จำนวนมากการประยุกต์ใช้งานวงจรอิเล็กทรอนิกส์  กว้างขวางขึ้น มีการนำมาใช้ในเครื่องจักร อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่ของใช้ในบ้าน จึงถึงในโรงงานอุตสาหกรรม
การสร้างทรานซิสเตอร์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิต ทรานซิสเตอร์แบบ    planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐาน พบว่า บริษัทแฟร์ซายด์ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2502 และบริษัทเท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์


        คําว่า กฎของมัวร์นั้นถูกเรียกโดยศาสตราจารย์   Caltech   นามว่า      Carver Mead
ซึ่งกล่าวว่าจํานวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วงปี 1965  ต่อมามัวร์จึงได้
เปลี่ยนรูปกฎ เพิ่ขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975






กฎของมัวร์ (Mooer' low)  คือ กฎที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาวมีความว่า จำนวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุก ๆ สองปี
   
     กอร์ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้น ซึ่งเขาบันทึกไว้ว่า ปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม
      
 ขอบคุณข้อมูลจาก

 http://www.krudung.com/pb/index.php



วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (Parity Bit)

parity bit
บิตภาวะคู่หรือคี่หมายถึง บิตที่เพิ่มขึ้นมา
เพื่อตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล ถ้าเป็น 
1 ก็เรียกว่า ภาวะคี่
ถ้าเป็น 0 ก็เป็น ภาวะคู่
การเกิดข้อบกพร่องภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ หรือพาริตี้บิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต 
ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บในคอมพิวเตอร์
วิธีการตรวจสอบมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน
1. การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
2. การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชื่อ - สกุล รหัส ASCII ภาษาอังกฤษ

PAWEENA JUMPASOM
ฐานสอง
0101 0000 P
0100 0001 A
0101 0111 W
0100 0101 E
0100 0101 E
0100 1110 N
0100 0001 A
0100 0000 space
0100 1010 J
0101 0101 U
0100 1101 M
0101 0000 P
0100 0001 A
0101 0011 S
0100 1111 O
0100 1101 M
0000 0011 ETX
ทั้งหมด  17  byte

ชื่อ - สกุล ด้วยรหัส ASCII

ปวีณา จัมปาโสม
1011 1011 BB ป
1100 0111 C7 ว
1101 0101 D5  ี
1011 0011 B3 ณ
1101 0010 D2 า
0100 0000 space
1010 1000 A8 จ
1101 0001 D1  ั
1100 0001 C1 ม
1011 1011 BB ป
1101 0010 D2 า
1110 0010 E2 โ
1100 1010 CA ส
1100 0001 C1 ม
0000 0011 ETX 

ทั้งหมด 15 byte

รหัส Unicode

ประวัติความเป็นมา  Unicode

1.Unicode คืออะไร?
                Unicode กำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับทุกอักขระโดยไม่สนใจว่าเป็นแพล็ตฟอร์มใด
ไม่ขึ้นกับว่าจะเป็นโปรแกรมใดและไม่ว่าจะเป็นภาษาใด
โดยพื้นฐานแล้ว คอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของตัวเลข คอมพิวเตอร์จัดเก็บตัวอักษรและอักขระอื่นๆ โดยการกำหนดหมายเลขให้สำหรับแต่ละตัว ก่อนหน้าที่ Unicode จะถูกสร้างขึ้น ได้มีระบบ encoding อยู่หลายร้อยระบบสำหรับการกำหนดหมายเลขเหล่านี้ ไม่มี encoding ใดที่มีจำนวนตัวอักขระมากเพียงพอยกตัวอย่างเช่น เฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปเพียงแห่งเดียว ก็ต้องการหลาย encoding ในการครอบคลุมทุกภาษาในกลุ่ม หรือแม้แต่ในภาษาเดี่ยว เช่น ภาษาอังกฤษ ก็ไม่มี encoding ใดที่เพียงพอสำหรับทุกตัวอักษร เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ทางเทคนิคที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
ระบบ encoding เหล่านี้ยังขัดแย้งซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ในสอง encoding สามารถใช้หมายเลขเดียวกันสำหรับตัวอักขระสองตัวที่แตกต่างกันหรือใช้หมายเลขต่างกันสำหรับอักขระตัวเดียวกัน ในระบบคอมพิวเตอร์ (โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์) ต้องมีการสนับสนุนหลาย encoding  และเมื่อข้อมูลที่ผ่านไปมาระหว่างการเข้ารหัสหรือแพล็ตฟอร์มที่ต่างกัน ข้อมูลนั้นจะเสี่ยงต่อการผิดพลาดเสียหาย

Unicode จะเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด!
Unicode กำหนดหมายเลขเฉพาะสำหรับแต่ละอักขระ โดยไม่สนใจว่าเป็นแพล็ตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับว่าจะเป็นโปรแกรมใดและไม่ว่าจะเป็นภาษาใด มาตรฐาน Unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม เช่น Apple, HP, IBM, JustSystem, Microsoft, Oracle, SAP, Sun, Sybase, Unisys  และอื่นๆ อีกมาก  Unicode เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมาตรฐานใหม่ๆ เช่น XML, Java, ECMAScript (JavaScript), LDAP, CORBA 3.0, WML ฯลฯ. และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO/IEC 10646  Unicode ได้รับการสนับสนุนในระบบปฏิบัติการจำนวนมาก บราวเซอร์ใหม่ๆ ทุกตัว  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมาก  การเกิดขึ้นของ Unicode Standard และทูลส์ต่างๆ ที่มีในการสนับสนุน Unicode เป็นหนึ่งในแนวโน้มทางเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ระดับโลกที่มีความสำคัญที่สุด
การรวม Unicode เข้าไปในระบบไคลเอ็นต์-เซิร์ฟเวอร์ หรือ Applications แบบ multi-tiered และเว็บไซต์ จะทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าการใช้ชุดอักขระแบบเดิม  Unicode ทำให้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หนึ่งเดียว หรือเว็บไซต์แห่งเดียว รองรับได้หลายแพล็ตฟอร์ม หลายภาษาและหลายประเทศโดยไม่ต้องทำการรื้อปรับระบบ  Unicode ยังทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบโดยไม่เกิดความผิดพลาดเสียหาย
ความสำเร็จของ Unicode ในเรื่องของการรวมการเข้ารหัสอักขระให้เป็นหนึ่ง เป็นที่รู้จักกว้างขวางและมีอิทธิพลต่อการทำซอฟต์แวร์ให้เป็นสากล กล่าวคือสามารถใช้ได้หลายภาษา มาตรฐานนี้มีการนำไปใช้เป็นเทคโนโลยีหลักหลายอย่าง อาทิ XML JAVA และระบบปฏิบัติการสมัยใหม่
ทำไมต้องมี Unicode
ในปัจจุบันมีตัวอักษรให้เลือกใช้อยู่หลายแบบ มี Character set อยู่มากมาย เช่น ตัวอักษรภาษาไทย, ตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ ในอดีตเวลาที่เรา Encode ภาษา ถ้าเป็น ASCII ขนาด 1 byte จะมี 8 bit ซึ่ง ASCII code ก็คือพวกที่เก็บตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวเล็ก, ตัวใหญ่, ตัวเลข, เครื่องหมายมากกว่า, น้อยกว่า, ไม่เท่ากับ, full stop, # เป็นต้น ใช้พื้นที่แค่ 7 bit ก็สามารถ Encode ข้อมูลของได้ครบแล้ว 
ส่วน bit ที่ 8 นี่ก็ใส่ 0 ลงไป แต่ในประเทศที่ไม่ได้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษในการเขียน ก็อยากจะมีรหัสในการเขียนตัวอักษรเป็นของตัวเองเหมือนกัน ดังนั้นแล้วในการแก้ปัญหา ก็คือ จะเอา bit ที่ 8 มาใช้ เช่น ตั้ง bit ที่ 8 เป็น 1 แล้วก็ Encode ข้างในด้วยรหัสของตัวเอง แต่ต้องเป็นรหัสที่ ASCII code ยังไม่ได้ใช้ เช่น 1000011 เป็น ’, 1000012 เป็น ’, 1000013 เป็น เป็นต้น 
วิธีการเช่นนี้ทำให้เราสามารถเก็บได้ 2 ภาษา แต่ว่าการทำแบบนี้ไม่ international เพราะว่า ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นก็ใช้แบบเดียวกัน ก็เอา bit ที่ 8 มาใช้ เพราะฉะนั้นแล้ว ตัว ของภาษาไทยก็จะไปมีรหัสเหมือนกับตัวอะไรซักอย่างในภาษาจีน ดังนั้นก็เลยมีปัญหาว่าถ้าเราต้องการทำ international business จริงๆ ควรจะมีรหัสเดียวสำหรับอักษรตัวเดียว และในแต่ละภาษาก็ไม่ควรมีรหัสซ้ำกัน 
ดังนั้นเราก็เลยมี Unicode ขึ้นมา Unicode ต่างจาก ASCII คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่ Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนี้เป็นภาษาจีน ตรงนี้เป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น
2.  หลักการทำงานของ Unicode
รหัสแบบที่กำหนด 1 byte หรือ 8 บิตสำหรับ 1 ตัวอักษรนั้นมีความเหมาะสมและเพียงพอสำหรับภาษาที่ใช้ตัวอักขระแต่ละตัวแทนเสียงในภาษา (alphabetical language) แต่สำหรับภาษาที่เขียนโดยใช้ตัวอักขระแทนพยางค์หรือหน่วยคำ เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน จะมีจำนวนอักขระที่เขียนเป็นจำนวนมากเกินกว่าที่จะแทนด้วย 1 byte ได้ (ซึ่งแทนได้เพียง 256 แบบของตัวอักขระ) อีกทั้งเมื่อมีการใช้รหัสอักขระที่แตกต่างกัน ก็จะมีผลต่อการย้ายข้อมูลข้ามภาษา เช่น รหัสที่แทนตัวอักขระ ก ที่ใช้ภาษาไทยจะไปตรงกับรหัสตัวอักขระ ¡ ในอีกตารางหนึ่ง เป็นต้น จึงมีความพยายามแก้ปัญหาให้มีรหัสเดียวที่ใช้ได้กับอักขระทุกภาษา ซึ่งเป็นที่มาของการพัฒนารหัส Unicode ขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ.1991 (Unicode 1.0) โดยที่รหัสตัวอักขระ 256 ตัวแรกนั้นจะเหมือนกับรหัสของ ISO-8859 ปัจจุบันพัฒนามาถึง Unicode 5.1

หลักการของ Unicode คือแต่ละตัวอักขระที่ใช้ในภาษาต่างๆ จะมีรหัสเฉพาะของตน แต่รูปแบบของการเข้ารหัสแบบ Unicode นั้นมีได้หลายแบบ เป็นการแปลงรหัส Unicode ที่กำหนดหรือที่เรียกว่า Unicode transformation format (UTF) เป็นชุดของ byte เฉพาะสำหรับแต่ละอักขระ (unique byte sequence) ในแบบที่ง่ายสุดคือใช้จำนวนบิตคงที่(เหมือนการแทนรหัสแบบอื่นที่กล่าวมา) จะใช้จำนวน 32 บิตสำหรับแต่ละอักขระ (4 bytes/character) (เรียกว่า UTF-32) แต่จะเสียเนื้อที่เก็บข้อมูลมากไม่ประหยัด และเพราะตัวอักษรต่างๆที่ใช้บ่อยๆ ก็มักเป็นเหมือนรหัส ISO-8859 ซึ่งใช้เพียง 8 บิตสำหรับแต่ละตัวอักษรก็พอ จึงมีการคิดวิธีการเข้ารหัสที่ประหยัดที่เก็บมากขึ้นโดยจำนวนบิตของแต่ละอักขระไม่จำเป็นต้องคงที่การเข้ารหัสแบบ UTF-16 กำหนดให้ตัวอักขระที่ใช้บ่อยๆ เก็บ 16 บิต ส่วนตัวอักขระที่ใช้ไม่บ่อยจะเก็บเป็น 32 บิต (2-4
bytes/character) ส่วนการเข้ารหัสแบบ UTF-8 จะยิ่งประหยัดมากขึ้น เพราะตัวอักขระที่ใช้บ่อยจะเก็บ 8 บิตส่วนตัวอักขระอื่นๆ อาจเก็บ 16 หรือ 32 บิต (1-4 bytes/character) จึงทำให้ประหยัดที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
รหัสแบบ Unicode นี้เป็นที่คาดการณ์ว่าจะเป็นมาตรฐานสำหรับการเก็บข้อมูลภาษาในคอมพิวเตอร์ในอนาคต

3.รูปแบบการเข้ารหัสตัวอักษรที่เป็น Unicode
                การเข้ารหัสตัวอักษรในระบบ Unicode มีมากมายหลายวิธีซึ่งวิธีที่ใช้กันเป็นที่ทั่วไปคือ UTF-16 ใช้กันมากในระบบปฏิบัติการ Windows และ UTF-8 ถูกใช้ในระบบปฏิบัติการ Linux
UTF-16
16-bit Unicode Transformation Format เป็นวิธีการเข้ารหัสของ Unicode ในรูปแบบ 16 bits ต่อ 1 ตัวอักษร ซึ่งเรียกว่า code units ซึ่งการเข้ารหัสจะใช้ระบบ Basic Multilingual Plane (BMP) มากำหนดลำดับตัวอักษร โดยตำแหน่ง code ที่มีตัวอักษรจะอยู่ในช่วง U+0000 ถึง U+10FFFF ยกเว้น code ที่อยู่ระหว่าง U+D800 ถึง U+DFFF (ซึ่งจะไม่มีตัวอักษรใดๆ เลย) จะเป็นส่วนที่กำหนดไว้รองร้บตัวอักษรที่จะถูกกำหนดในอนาคต

การแบ่งระนาบของ Unicode
                อักขระใน Unicode นั้นจะแบ่งออกเป็นส่วนต่างได้หลายส่วน โดยการจัดแยกออกเป็นส่วนย่อยๆไว้ในรูปเชิงตรรกะ เป็น 17 ระนาบ โดยแต่ละระนาบจะแทนค่าได้ 65,536= (216) ค่า ถึงอย่าไรก็ตามมีเพียงบางระนาบเท่านั้นที่ถูกใช้งาน
Plane 0 (0000–FFFF): Basic Multilingual Plane (BMP). ในระนาบนี้จะเป็นการเก็บอักขระส่วนใหญ่ของแต่ละภาษาที่ใช้กันอยู่เป็นประจำ จุดประสงค์หลักสำหรับBMP คือ สนับสนุนความสอดคล้องกันของตัวอักขระ รวมทั้งตัวอักขระของแต่ละภาษา ในปัจจุบัน
Plane 1 (10000–1FFFF): Supplementary Multilingual Plane (SMP).
Plane 2 (20000–2FFFF): Supplementary Ideographic Plane (SIP)
Planes 3 to 13 (30000–DFFFF) ยังไม่ถูกใช้งาน
Plane 14 (E0000–EFFFF): Supplementary Special-purpose Plane (SSP)
Plane 15 (F0000–FFFFF) reserved for the Private Use Area (PUA)
Plane 16 (100000–10FFFF), reserved for the Private Use Area (PUA)

ระนาบสำหรับตัวอักษรพื้นฐาน (ระนาบที่ 0)
                ภาพรวมของ Basic Multilingual Plane จะทำงานโดยในแต่ละชุดของอักขระจะประกอบด้วยรหัส 256 รหัสในการชี้ตำแหน่งของอักขระ
Basic Multilingual Plane (BMP), เป็นระนาบที่มีอักขระบรรจุอยู่มากที่สุด โดยอักขระสมัยใหม่และอักขระพิเศษเกือบทั้งหมดจะถูกบรรจุอยู่ระนาบนี้

ระนาบเพิ่มเติมสำหรับตัวอักษร(ระนาบที่ 1)
                Supplementary Multilingual Plane (SMP), ในระนาบนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการเก็บอักขระที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ รวมไปถึงสัญลักษณ์ทางดนตรีและคณิตศาสตร์อีกด้วย
ระนาบเพิ่มเติมสำหรับอักษรภาพแสดงความหมาย (ระนาบที่ 2)
                Supplementary Ideographic Plane (SIP), ถูกใช้ไปแล้วประมาณ 40,000 ในการแทนคำที่ใช้แทนความคิด หรือที่ใช้ 1 คำแทน 1 สิ่งเช่นในภาษาจีนที่ใช้1อักขระแทนหนึ่งคำ


ระนาบที่ยังไม่ได้นำไปใช้งาน (ระนาบที่ 3 ถึง ระนาบที่ 13)
                ยังไม่มีการกำหนดค่าให้กับ plane3 ถึง plane13 เพราะในอนาคตยังไม่แน่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างจึงไม่สามารถระบุขนาดที่แน่นอนของตัวโค้ดได้

ระนาบสำหรับวัตถุประสงค์พิเศษ (ระนาบที่ 14)
                Plane 14 (E in hexadecimal), ส่วนเพิ่มเติมสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ (SSP: Supplementary Special-    purpose Plane) ปัจจุบันใช้แทนค่าตัวอักขระที่ไม่ใช่กราฟิกในสองกลุ่มระเบียนคือ 128 ใช้แทน ค่าตัวอักขระแบบแทก (Tag Language) ที่ยังไม่สามารถแทนค่าได้ตามปกติตัวอย่างเช่นในภาษา เอกซ์เอ็มแอล(XML) และกลุ่มระเบียน 240 ใช้แทนค่าตัวอักขระที่ไม่สามารถเขียนแทนได้ในข้อความ ทั่วไป

ระนาบสงวนการใช้งาน (ระนาบที่ 15 และ ระนาบที่ 16)
                ระนาบทั้ง 15 และ 16 นี้ถูกออกแบบโดยกรรมการชุดอื่น ที่ไม่ใช่จากหน่วยงานของไอเอสโอ หรือ คณะกรรมการของยูนิโค้ด เพื่อรองรับการทำงานของอักขระบางกลุ่มที่มีลักษณะพิเศษ เช่น เขียนจากขวาไปซ้าย เป็นต้น


Basic Multilingual Plane
เป็นรูปแบบการกำหนดตัวอักษรแรก โดย Basic Multilingual Plane (BMP) ได้กำหนดตัวอักษรสมัยใหม่ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง รวมถึงตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษ รวมถึงการกำหนดตำแหน่ง code ของ BMP ที่มีการนำภาษาจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีด้วย
Plane 0 (0000–FFFF): Basic Multilingual Plane (BMP). ในระนาบนี้จะเป็นการเก็บอักขระส่วนใหญ่ของแต่ละภาษาที่ใช้กันอยู่เป็นประจำ จุดประสงค์หลักสำหรับBMP คือ สนับสนุนความสอดคล้องกันของตัวอักขระ รวมทั้งตัวอักขระของแต่ละภาษา ในปัจจุบัน







 BMP ใน Unicode 5.0 ได้มีการรวบรวม code จากภาษาต่างๆ ตามลำดับดังนี้

Basic Latin (0000–007F)
Ethiopic (1200–137F)
Latin-1 Supplement (0080–00FF)
Ethiopic Supplement (1380–139F)
Latin Extended-A (0100–017F)
Cherokee (13A0–13FF)
Latin Extended-B (0180–024F)
Unified Canadian Aboriginal Syllabics (1400–167F)
IPA Extensions (0250–02AF)
Ogham (1680–169F)
Spacing Modifier Letters (02B0–02FF)
Runic (16A0–16FF)
Combining Diacritical Marks (0300–036F)
Philippine scripts:
Greek and Coptic (0370–03FF)
     Tagalog (1700–171F)
Cyrillic (0400–04FF)
     Hanunóo (1720–173F)
Cyrillic Supplement (0500–052F)
     Buhid (1740–175F)
Armenian (0530–058F)
     Tagbanwa (1760–177F)
Hebrew (0590–05FF)
Khmer (1780–17FF)
Arabic (0600–06FF)
Mongolian (1800–18AF)
Syriac (0700–074F)
Limbu (1900–194F)
Arabic Supplement (0750–077F)
Tai Le (1950–197F)
Thaana (0780–07BF)
New Tai Lue (1980–19DF)
N’Ko (Mandenkan) (07C0–07FF)
Khmer Symbols (19E0–19FF)
Indic scripts:
Buginese (1A00–1A1F)
     Devanagari (0900–097F)
Balinese (1B00–1B7F)
     Bengali (0980–09FF)
Lepcha (Rong) (1C00–1C4F)
     Gurmukhi (0A00–0A7F)
Phonetic Extensions (1D00–1D7F)
     Gujarati (0A80–0AFF)
Phonetic Extensions Supplement (1D80–1DBF)
     Oriya (0B00–0B7F)
Combining Diacritical Marks Supplement (1DC0–1DFF)
     Tamil (0B80–0BFF)
Latin Extended Additional (1E00–1EFF)
     Telugu (0C00–0C7F)
Greek Extended (1F00–1FFF)
     Kannada (0C80–0CFF)
Symbols:
     Malayalam (0D00–0D7F)
     General Punctuation (2000–206F)        
     Sinhala (0D80–0DFF)
     Superscripts and Subscripts (2070–209F)
Thai (0E00–0E7F)
     Currency Symbols (20A0–20CF)
Lao (0E80–0EFF)
     Combining Diacritical Marks for Symbols (20D0–20FF)
Tibetan (0F00–0FFF)
     Letterlike Symbols (2100–214F)
Burmese (1000–109F)
     Number Forms (2150–218F)
Georgian (10A0–10FF)
     Arrows (2190–21FF)
Hangul Jamo (1100–11FF)
     Mathematical Operators (2200–22FF)




     Miscellaneous Technical (2300–23FF)
Katakana Phonetic Extensions (31F0–31FF)
     Control Pictures (2400–243F)
Enclosed CJK Letters and Months (3200–32FF)
     Optical Character Recognition (2440–245F)
CJK Compatibility (3300–33FF)
     Enclosed Alphanumerics (2460–24FF)
CJK Unified Ideographs Extension A (3400–4DBF)
     Box Drawing (2500–257F)
Yijing Hexagram Symbols (4DC0–4DFF)
     Block Elements (2580–259F)
CJK Unified Ideographs (4E00–9FFF)
     Geometric Shapes (25A0–25FF)
Yi Syllables (A000–A48F)
     Miscellaneous Symbols (2600–26FF)
Yi Radicals (A490–A4CF)
     Dingbats (2700–27BF)
Modifier Tone Letters (A700–A71F)
     Miscellaneous Mathematical Symbols-A (27C0–27EF)
Latin Extended-D (A720–A7FF)
     Supplemental Arrows-A (27F0–27FF)
Syloti Nagri (A800–A82F)
     Braille Patterns (2800–28FF)
Phags-pa (A840–A87F)
     Supplemental Arrows-B (2900–297F)
Hangul Syllables (AC00–D7AF)
     Miscellaneous Mathematical Symbols-B (2980–29FF)
High Surrogates (D800–DB7F)
     Supplemental Mathematical Operators (2A00–2AFF)
High Private Use Surrogates (DB80–DBFF)
     Miscellaneous Symbols and Arrows (2B00–2BFF)
Low Surrogates (DC00–DFFF)

Glagolitic (2C00–2C5F)
Private Use Area (E000–F8FF)
Latin Extended-C (2C60–2C7F)
CJK Compatibility Ideographs (F900–FAFF)
Coptic (2C80–2CFF)
Alphabetic Presentation Forms (FB00–FB4F)
Georgian Supplement (2D00–2D2F)
Arabic Presentation Forms-A (FB50–FDFF)
Tifinagh (2D30–2D7F)
Variation Selectors (FE00–FE0F)
Ethiopic Extended (2D80–2DDF)
Vertical Forms (FE10–FE1F)
Supplemental Punctuation (2E00–2E7F)
Combining Half Marks (FE20–FE2F)
CJK Radicals Supplement (2E80–2EFF)
CJK Compatibility Forms (FE30–FE4F)
Kangxi Radicals (2F00–2FDF)
Small Form Variants (FE50–FE6F)
Ideographic Description Characters (2FF0–2FFF)
Arabic Presentation Forms-B (FE70–FEFF)
CJK Symbols and Punctuation (3000–303F)
Halfwidth and Fullwidth Forms (FF00–FFEF)
Hiragana (3040–309F)
Specials (FFF0–FFFF)
Katakana (30A0–30FF)

Bopomofo (3100–312F)

Hangul Compatibility Jamo (3130–318F)

Kanbun (3190–319F)

Bopomofo Extended (31A0–31BF)

CJK Strokes (31C0–31EF)


                จากรูปที4  UTF-16 สามารถเข้ารหัสได้ถึง 216 ทำให้สามารถกำหนดตัวอักษรได้ถึง 65536 ตัวอักษร ซึ่งสามารถรองรับตัวอักษรที่มีในโลกได้จำนวนมากทำให้มีการนำ UTF-16 มาใช้ในระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดย Microsoft ทำให้ระบบสามารถแสดงผลที่เป็นภาษาอื่นได้หลากหลายมากขึ้น
UTF-8  
เนื่องจากการกำหนดการเข้ารหัสของ UTF-16 แต่ละตัวอักษรต้องใช้จำนวน 16 bits ทุกตัวทำให้ไฟล์หรือข้อมูลที่มีการเข้ารหัสในรูปแบบ UTF-16 มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งก่อนหน้านี้มีข้อจำกัดในเรื่องขนาดที่เก็บของข้อมูลรวมถึงข้อจำกัดในเรื่องความเร็วของการส่งข้อมูลผ่านระบบเน็ตเวิร์คในสมัยก่อนยังมีความล่าช้า ทำให้ UTF-16 ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร และหลังจากที่ได้มีการพัฒนาระบบให้มีความทันสมัยมากขึ้นระบบ UTF-16 ก็ได้ถูกนำมาใช้งานมากขึ้น แต่เนื่องด้วยขนาดตัวอักษรที่มีเพียง 65536 ตัวอักษร ซึ่งสามารถรองรับภาษาและสัญลักษณ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้ แต่เมื่อต้องการใช้ตัวอักษรที่มีมาในอดีต ซึ่งมีมากมายจึงต้องหาวิธีการที่จะเพิ่มขนาดของรหัสตัวอักษรรวมถึงหาวิธีการที่จะลดขนาดของข้อมูลต่อตัวอักษรให้ได้มากที่สุด จึงได้มีการกำหนดวิธีการแบบ UTF-8 ขึ้นมา


การแทนค่าสำหรับแต่ละระนาบแสดงได้ดังตารางนี้

รูปที่5แสดง  การแทนค่าสำหรับแต่ละระนาบ